top of page

เสา Post Top คืออะไร ใช้งานยังไง ?

    เสา Post Top เป็นหนึ่งในประเภทของเสาไฟที่มีการออกแบบเพื่อให้โคมไฟติดตั้งอยู่บนยอดของเสา 4 ถึง 12 เมตร ซึ่งนิยมใช้ในพื้นที่ลักษณะพื้นที่ ที่ต้องการแสงสว่างที่มีความเข้มข้นและครอบคลุมพื้นที่กว้าง การเลือกใช้เสา Postop จะช่วยให้การติดตั้งและการใช้งานโคมไฟฟัดไลท์มีประสิทธิภาพมากขึ้น นิยมใช้ในพื้นที่ เช่น ลานจอดรถ, สนามกีฬา, สวนสาธารณะ, คลังสินค้า ท่ารถขนส่ง ด่านเก็บเงิน หรือตามแยกถนน เป็นต้น



ลักษณะของเสา Post Top

โครงสร้างหลัก:

  • ตัวเสา : เสา Post Top มีลักษณะเป็นเสาตรงไม่มีกิ่งปลายเรียว หรือเรียกอีกอย่างว่าเสาทรงเทเปอร์ (Tapered Pole) ตัวเสาทำจากเหล็กชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

  • T-bar หรือ วงแหวน : ติดอยู่ด้านบนสุดของปลายเสา ทำหน้าที่ยึดโคมไฟไว้เพื่อเพิ่มการกระจายแสงในพื้นที่บริเวณกว้างได้

  • โคมไฟ : โคมไฟจะใช้โคมแบบ Flood Light ติดตั้งอยู่ที่ยอดของเสา ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบหลอด HPS หรือ LED ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

  • ฐานเสา : มักจะติดตั้งในพื้นดินหรือคอนกรีตเพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้างหลักทั้งหมด และเพิ่ม J-Bolts ในการยึดให้เสา มีความมั่นคง และป้องกันการเคลื่อนที่ของเสาได้

  • Ground Rodหรือหลักดิน : คือแท่งโลหะที่ฝังลงในดินเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกระจายประจุไฟฟ้าลงสู่พื้นดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว ฟ้าผ่า เป็นต้น


การใช้งานของเสา Post Top :

การใช้งานเสา Post Top ในประเทศไทยครอบคลุมหลายประเภทของการใช้งาน โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการติดตั้งโคมไฟหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องการการกระจายแสงหรือการส่องสว่างในพื้นที่กลางแจ้ง การใช้งานเสา Post Top มีความหลากหลายและเหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ :

การใช้งานเสา Post Top แบบติดกิ่งเพื่อเพิ่มโคมไฟ

  • การติดตั้งในสวนสาธารณะ เช่น ทางเดิน, สนามเด็กเล่น, และพื้นที่นั่งเล่น

  • การติดตั้งในลานจอดรถ

  • การติดตั้งในสนามกีฬา

  • การติดตั้งในพื้นที่เปิดโล่ง:เช่น บริเวณทางเดินภายนอกของอาคาร, บริเวณสวนภายในหมู่บ้าน หรือพื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง

  • การติดตั้งในแหล่งท่องเที่ยว


การใช้งาน Post Top แบบติดกิ่งเพื่อเพิ่มโคมไฟ


  • การกระจายแสง เสา Post Top มักใช้ในการติดตั้งโคมไฟหรือแสงสว่างที่สามารถกระจายแสงได้กว้างขวาง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างทั่วถึง เช่น ถนน, สวนสาธารณะ, และลานจอดรถการติดตั้งโคมไฟที่ปลายเสาช่วยให้สามารถปรับมุมการส่องสว่างได้ตามความต้องการได้


  • เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ การติดตั้งโคมไฟบนเสา Post Top ช่วยให้พื้นที่กลางแจ้งมีแสงสว่างเพียงพอ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนที่เดินทางหรือใช้พื้นที่ดังกล่าว เพิ่มการมองเห็นการติดตั้งที่สูงช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นและลดจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่

การใช้งานเสา Post Top แบบไม่ติดกิ่ง
  • การติดตั้งป้ายสัญญาณ: สามารถใช้สำหรับการติดตั้งป้ายสัญญาณจราจรหรือป้ายข้อมูลในพื้นที่ต่าง ๆ

  • การติดตั้งกล้องวงจรปิด: เหมาะสำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อการเฝ้าระวังในพื้นที่กลางแจ้ง

  • ใช้ในการโฆษณา: ใช้สำหรับการติดตั้งป้ายโฆษณาหรือแบรนด์ของบริษัทที่มีการส่องสว่าง เพื่อเพิ่มการมองเห็นและการรับรู้ในพื้นที่เชิงพาณิชย์

  • การติดตั้งสัญญาณเตือนภัย: ใช้ในการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย เช่น เสียงเตือนภัย, สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือระบบการเตือนภัยอื่น ๆ


กิ่ง T-bar และ วงแหวน ต่างกันอย่างไร
กิ่ง T-bar

การติดตั้งกิ่ง T-bar

  • การยึดติด: กิ่ง T-bar มักจะยึดติดกับเสาหลักด้วยการเชื่อม หรือสกรูเพื่อให้มั่นคง และสามารถรองรับน้ำหนักของโคมไฟหรืออุปกรณ์อื่น ๆ

  • ตำแหน่งติดตั้ง: โคมไฟหรืออุปกรณ์อื่น ๆ จะถูกติดตั้งที่ปลายของกิ่ง T-bar เพื่อให้แสงสว่างหรือฟังก์ชันการใช้งานที่ต้องการ


การใช้งานกิ่ง  T-bar

  • ใช้ในการติดตั้งโคมไฟ

  • ป้ายและสัญญาณ

  • กล้องวงจรปิด


กิ่งวงแหวน

การติดตั้งวงแหวน
  • การติดตั้งกิ่งวงแหวน:  วงแหวนมีลักษณะเป็นวงกลมที่ติดตั้งรอบๆ ปลายของเสา ซึ่งอาจมีการออกแบบให้รองรับหลายๆ กิ่งหรืออุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่ติดตั้งกิ่งวงแหวนที่ปลายของเสา โดยการยึดกิ่งวงแหวนกับเสาด้วยสกรูหรือการเชื่อมให้วงแหวนติดกับเสาอย่างมั่นคงและเพื่อความปลอดภัยในการรองรับน้ำหนักโคม

  • ตำแหน่งติดตั้ง: บริเวณปลายของเสา


การใช้งานวงแหวน

  • นิยมใช้งานในการติดโคมไฟ เพื่อใช้ในการส่องสว่างได้ทุกทิศทางให้แสงสว่างในทุกๆ ด้านและสม่ำเสมอกัน


ข้อจำกัดในการใช้งานของกิ่งของเสา Post - Top

กิ่งวงแหวนมีข้อจำกัดในเรื่องของน้ำหนักที่สามารถรองรับได้ ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง เพื่อประโยชน์การใช้งานอันสูงสุด ควรปรึกษาฝ่ายออกแบบและฝ่ายเทคนิคเพื่อคำนวนการรองรับน้ำหนักที่จะใช้

เสา Post top กิ่ง T-Bar

  • ติดได้ทั้งหมดตั้งแต่กี่ 1 โคม ถึง กี 20 โคม ไม่ควรติดเกิน 5 โคม/ 1 ชั้น

เสา Post top แบบวงแหวน

  • ติดได้ทั้งหมดตั้งแต่กี่ 2 โคม ถึง 20 โคม ไม่ควรติดเกิน 8 โคม/กี่ 1 ชั้น



สรุป

  • กิ่ง T-Bar: เหมาะสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ในหลายทิศทางและปรับทิศทางได้ง่าย มักใช้สำหรับการติดตั้งโคมไฟที่มีความยืดหยุ่นในการกระจายแสง

  • วงแหวน: เหมาะสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องการการกระจายแสงที่รอบด้านและมีการกระจายแสงที่ดีให้แสงสว่างที่สม่ำเสมอ


การเลือกใช้กิ่ง T-Bar หรือวงแหวนขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งาน การออกแบบที่ต้องการ และความต้องการในการกระจายในพื้นที่และบริเวณต่างๆ เพื่อความมั่นใจว่าการใช้งานเสา Post Top และการติดตั้งกิ่ง T-Bar หรือวงแหวนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและแนะนำขั้นตอนที่ชัดเจนจะช่วยให้ลูกค้าได้รับคำแนะนำที่ดีที่สุดและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเนสโค่เพื่อแนะนำการใช้งานได้


ข้อดีของเสา Post Top

ความทนทาน:

  • วัสดุมีความทนทาน: วัสดุทำจากเหล็กคุณภาพดี ( มอก. 2316-2549) มีความหนา ขั้นต่ำที่ 3 มิลลิเมตร ก่อนการชุบกัลวาไนซ์ที่ผ่านการชุบกัลวาไนซ์

    - กัลวาไนซ์คือ : เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการเพิ่มความทนทานของเสาและวัสดุโลหะอื่น ๆ ต่อการกัดกร่อนและการเสื่อมสภาพ ช่วยลดปัญหาในเรื่องการเกิดสนิมได้ดี และยังช่วยให้เสามีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในการใช้งานในทุกสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่กลางแจ้ง และต้องเจอความชื้นอยู่บ่อยๆ


การกระจายแสง:

การใช้เสา Post top กับโคมไฟฟัดไลท์ (Floodlight) เป็นที่นิยมในใช้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างสูงและครอบคลุมพื้นที่กว้าง การเลือกใช้เสา Postop จะช่วยให้การติดตั้งและการใช้งานโคมไฟฟัดไลท์มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากจะได้แสงที่เพียงพอต่อการใช้งาน ต้องปรึกษาผู้เชียวชาญในการคำนวน การใช้งานแต่ละพื้นที่ เช่น สนามกลางแจ้ง ต้องใช้เสากี่เมตร และกิ่งแบบไหน ใช้กับโคมที่มีขนาดกี่วัต เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์สูงสุดในการเลือกซื้อและการใช้งาน เป็นต้น

  • คมไฟ Flood Light ให้แสงสว่างที่กว้างขวาง เหมาะสำหรับการส่องสว่างพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬา, ลานจอดรถ, หรือพื้นที่สาธารณะ


ข้อเสียของเสา Post Top
  • การบำรุงรักษาและการดูแลรักษา : การบำรุงรักษาเสา Post Top อาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากการเข้าถึงโคมไฟและส่วนประกอบที่สูงและไม่มีอุปกรณ์มือหมุนหรือมอเตอร์ในการเลื่อนลงมาถึงทำให้ต้องใช้เครนในการเปลี่ยนขึ้นไปเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุงบนหัวเสา บางสำนักงานหรือสถานที่ ที่ติดตั้งอาจจะไม่มีรถเครนสำนักงาน จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างงานเพื่อซ่อมบำรุงอีกด้วย



มาตรฐานที่ได้รับการรองรับของบริษัท และโรงงานการผลิต
  • มอก. 2316-2549   มาตรฐานที่ใช้สำหรับการผลิตและการติดตั้งเสาไฟส่องสว่างในประเทศไทย ซึ่งมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและความปลอดภัยของเสาไฟส่องสว่าง

  • มอก. 248-2531 และ มอก.1955-2551 เป็นมาตรฐานที่สำคัญในการกำหนดข้อกำหนดสำหรับเสาไฟฟ้าและเสาส่องสว่างในประเทศไทย เพื่อให้การผลิต การติดตั้ง และการใช้งานเสามีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด การปฏิบัติตามมาตรฐานนี้จะช่วยให้เสามีความทนทานและมีประสิทธิภาพในการใช้งานในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

  • ISO 9001:2015 เป็นมาตรฐานการจัดการคุณภาพที่มุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของบุคลากร และการมุ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ




ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page